![]() |
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงตระหนักถึงความเสื่อมโทรมของดิน ที่เกิดจากสาเหตุธรรมชาติ เช่น บางแห่งเป็นดินเปรี้ยวจัด ดินเค็ม หรือบางแห่งไม่มีดินเลย จึงทรงเรียกดินเหล่านี้ว่า "ดินแร้นแค้น" พระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ปัญหา ฟื้นฟู อนุรักษ์ดินของพระองค์นั้น มีลักษณะเป็นธรรมชาติและเรียบง่าย ในทางปฏิบัติ เฉียบคมเหมาะเจาะ และชาวบ้านทั่วไปสามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ ทรงเน้นการพัฒนาที่สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในการพึ่งตนเอง ทรงใช้คำว่า "ระเบิดจากข้างใน" คือทำให้ชุมชนเข้มแข็งก่อนจึงค่อยออกสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำความเจริญรุ่งเรืองจากภายนอกเข้าไปสู่ชุมชนที่ยังไม่มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งรับ ขั้นตอนต่อไป คือ พัฒนาให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้ตามสภาพและสามารถ "พึ่งตนเองได้" ในที่สุด | |
![]() |
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี "ตัวอย่างของความสำเร็จ"เพื่อให้ประชาชนเข้ามาศึกษาตัวอย่างของจริง และนำกลับไปปฏิบัติได้เอง จึงทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" ขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวน 6 ศูนย์ เช่น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีปัญหาเกี่ยวกับดินเสื่อมโทรมและเป็นดินทราย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส มีปัญหาดินเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร ที่ประสบปัญหาดินเค็มและดินเสื่อมโทรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เกี่ยวกับการเกษตรมากกว่า 4,000 โครงการ ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและปรับปรุงดินแทบทั้งสิ้น | |
เพื่อเฉลิมฉลองวันดินโลกและรำลึงถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านการอนุรักษ์และพัฒนาดิน ขอเชิญทุกท่านมาทำความรู้จักกับแนวพระราชดำริเกี่ยวกับดิน และโครงการในพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกันเถิด โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา โครงการศึกษาฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี |
||
เป็นเรื่องน่าเสียดายที่คนไทยน้อยคนนักที่จะทราบถึงวันสำคัญอันน่าภูมิในนี้ แต่ที่น่าเศร้าที่สุดคือเรายังคงเดินหน้าทำลายดินอย่างไร้สำนึกด้วยการเผาถางป่าไม้ต้นน้ำลำธารเพื่อปลูกพืชอาหารสัตว์เพื่อจำหน่ายให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ จนทำให้หน้าดินพังทลายและพื้นที่ต้นน้ำลำธารได้รับความเสียหาย ส่งผลให้เกิดภัยแล้งอย่างมากในปัจจุบัน นี่ยังไม่รวมถึงการส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานเช่น มันสำปะหลังที่ทำให้หน้าดินเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงชี้แนะทางออกให้กับปัญหานี้ด้วยแนวทางการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยมีความพอเพียงเป็นศูนย์กลางแทนที่จะเป็นผลประโยชน์ทางการเงิน แนวทางนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “โคกหนองนาโมเดล” ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญโดยย่อดังนี้
1ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง: แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ที่เกื้อกูลต่อความต้องการด้านเศรษฐกิจและสังคม
3การปลูกป่า 5 ระดับ: แนวทางการปลูกพืชอย่างผสมผสานเพื่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพรวมถึงประโยชน์สูงสุดจากการใช้พื้นที่และแสงอาทิตย์
2 - 4 - 5นำดินจากการขุดหนองมาถมทำโคกเพื่อให้น้ำท่วมไม่ถึง บริเวณนี้เหมาะแก่การพักอาศัย ปลูกผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ด้วย ควรปลูกแฝกซึ่งมีรากยาวถึง 3 เมตรในพื้นที่ลาดและบริเวณรอบหนองน้ำเพื่อช่วยยึดหน้าดินและชะลอการไหลของน้ำผิวดินซึ่งจะช่วยให้ดินสามารถกักเก็บน้ำได้มากขึ้น 6หนองน้ำช่วยให้เกษตรกรมีน้ำใช้ตลอดปี น้ำที่เก็บไว้จะซึมลงไปใต้ผิวดินช่วยให้มีแหล่งน้ำดื่มที่จะอาดแม้ในฤดูแล้ง ประเมินว่าหากเกษตรกร 1 ล้านครอบครัวขุดหนองน้ำขนาด 10,000 ลูกบาศก์เมตรจะสามารถเก็บน้ำได้มากกว่าเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้โดยไม่ต้องสูญเสียพื้นที่ป่า นอกจากแฝกแล้วควรปลูกพืชตระกูลถั่วที่ใบร่วงมาก เช่น จามจุรีและทองหลางรอบหนองน้ำเพื่อตรึงไนโตรเจนลงดิน ใบไม้ที่ร่วงลงพื้นจะช่วยควบคุมวัชพืชและคลุมหน้าดินให้มีความชุ่มชื้น ส่วนใบไม้ที่ร่วงลงน้ำจะช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและจุลินทรีย์ให้กับน้ำที่จะนำมาใช้เลี้ยงพืช 7 - 8คันนาที่สูงและกว้างจะสามารถเก็บได้ทั้งน้ำและปลา อีกทั้งยังสามารถปลูกพืชบนคันนาได้อีกด้วย ควรปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้านเนื่องจากเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่สุด การปลูกข้าวโดยไม่ใช้สารเคมีจะทำให้ต้นข้าวมีรากที่ยาวและแข็งแรงเพราะจะต้องหาอาหารด้วยตนเอง จึงทนต่อความแห้งแล้งและสามารถหาอาหารได้ดีกว่า ควรปลูกพืชหมุนเวียนและเลี้ยงแหนแดงเพื่อเพิ่มธาตุอาหารในนา (ความหมายของแถบด้านล่าง) สัดส่วนการจัดสรรพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง คือ ปลูกพืช 3 ส่วน, ที่อยู่อาศัย ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ 1 ส่วน, สระน้ำ 3 ส่วน และนาข้าว 3 ส่วน สามารถปรับใช้ตามความเหมาะสม “อันที่จริงเราชื่อ “ภูมิพล” ที่แปลว่า “กำลังของแผ่นดิน” แม่ก็อยากให้เธออยู่กับดิน เมื่อฟังคำพูดแล้วกลับมาคิด ซึ่งแม่คงจะสอนเราและมีจุดมุ่งหมายว่าอยากให้ติดดินและอยากให้ทำงานให้แก่ประชาชน” พระราชดำรัสของในหลวงนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นพ่อของแผ่นดินของชาวไทยทุกคน และเป็นสิ่งที่ชาวไทยทุกคนควรตระหนักถึงความสำคัญของผืนดินของไทย และรักษาอุดมสมบูรณ์นี้ไว้เพื่อความมั่นคงทางอาหารของไทย |
||
ที่มา |